65,000.00 THB
75,000.00 THB
ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่
ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง 201 ขึ้นไป ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย (ตารางที่ 1) โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
0 - 25 | 26 - 50 | 51 - 100 | 101 - 200 | 201 ขึ้นไป | ||
ความหมายของสี | ดีมาก | ดี | ปานกลาง | เริ่มมีผลกระทบ ต่อสุขภาพ | มีผบกระทบ ต่อสุขภาพ |
ตารางที่ 1 เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย
AQI | ความหมาย | สีที่ใช้ | ข้อความแจ้งเตือน |
0 - 25 | คุณภาพอากาศดีมาก | ฟ้า | คุณภาพอากาศดีมาก เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยว |
26 - 50 | คุณภาพอากาศดี | เขียว | คุณภาพอากาศดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ |
51 - 100 | ปานกลาง | เหลือง | ประชาชนทั่วไป : สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง |
101 - 200 | เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ | ส้ม | ประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์ |
201 ขึ้นไป | มีผลกระทบต่อสุขภาพ | แดง | ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุก หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ |
การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศรายวันของสารมลพิษทางอากาศแต่ละประเภท
คำนวณจากค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศจากข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ โดยมีระดับของค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่เทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ระดับต่างๆ ดัง (ตารางที่ 2) การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศภายในช่วงระดับ เป็นสมการเส้นตรง ดังนี้
กำหนดให้ตารางที่ 2 ค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่เทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศ
AQI | PM2.5 (มคก./ลบ.ม.) | PM10 (มคก./ลบ.ม.) | O3 (ppb) | CO (ppm) | NO2 (ppb) | SO2 (ppb) |
---|---|---|---|---|---|---|
เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง | เฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง | เฉลี่ย 1 ชั่วโมง | ||||
0 - 25 | 0 - 25 | 0 - 50 | 0 - 35 | 0 - 4.4 | 0 - 60 | 0 - 100 |
26 - 50 | 26 - 37 | 51 - 80 | 36 - 50 | 4.5 - 6.4 | 61 - 106 | 101 - 200 |
51 - 100 | 38 - 50 | 81 - 120 | 51 - 70 | 6.5 - 9.0 | 107 - 170 | 201 - 300 |
101 - 200 | 51 - 90 | 121 - 180 | 71 - 120 | 9.1 - 30.0 | 171 - 340 | 301 - 400 |
มากกว่า 200 | 91 ขึ้นไป | 181 ขึ้นไป | 121 ขึ้นไป | 30.1 ขึ้นไป | 341 ขึ้นไป | 401 ขึ้นไป |
ช่วงเวลาเฉลี่ย และหน่วยสารมลพิษทางอากาศที่ใช้ในการคำนวน
ทดลองคำนวนค่าดัชนีคุณภาพอากาศ
พารามิเตอร์ | ค่าเฉลี่ย | ค่า Index | ระดับสี |
---|---|---|---|
PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง | µg./m3 | - | |
PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง | µg./m3 | - | |
O3 เฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง | ppb | - | |
CO เฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง | ppm | - | |
NO2 เฉลี่ย 1 ชั่วโมง | ppb | - | |
SO2 เฉลี่ย 1 ชั่วโมง | ppb | - | |
ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ AQI | - |